ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ blogger รัชฎาพร บรรจุทรัพย์




ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2083 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 499 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (118/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (201/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11

ข่าว

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

•หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนของวิธีการทางxระวัติศาสตร์
•หลักฐานทางประวัติศาสตร์
•การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
•การตีความหลักฐาน
•การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

            ขั้นที่ 1 การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา  เลือกหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่สนใจ
            ขั้นที่ 2 การรวบรวมหลักฐาน  ศึกษาจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ และใช้หลักฐานอื่นประกอบ
             ขั้นที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ต้องวิเคราะห์ประเมินค่าว่าหลักฐานใดเป็นของแท้ ไม่ใช่ของปลอม
            ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลแยกแยะและรวมประเด็น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นหมวดหมู่
            ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ นำข้อมูลทั้งหลายมาเรียบเรียงหรือนำเสนอแก่บุคคลทั่วไป 

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

        หลักฐานของไทย มีพระราช-พงศาวดารฉบับต่างๆ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
        หลักฐานของต่างชาติ  เช่น จดหมายเหตุลาลูแบร์ สำเภากษัตริย์สุลัยมาน หมิงสือลู่ ชิงสือลู่

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลายประเภท เช่น พระราชวังเก่าที่พระนครศรีอยุธยา ที่ลพบุรี วัด ศิลปวัตถุ และหมู่บ้านชาวต่างชาติ ซึ่งสามารถใช้ประกอบกับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการศึกษาค้นคว้า 
เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จัดเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

•เป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ ดูได้จากวัสดุที่ใช้เขียน รูปแบบตัวเขียน สำนวนภาษา
•การศึกษาภูมิหลังของผู้ทำหรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น เป็นพวกเดียวกัน เป็นศัตรู หรือเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่บันทึกหรือไม่
•วัตถุประสงค์ของการจัดทำ โดยพิจารณาว่าเพราะเหตุใดจึงมีการบันทึกเรื่องนั้นๆ
•ช่วงระยะเวลาที่จัดทำหลักฐาน โดยพิจารณาว่าจดบันทึกแบบทันที หรือเวลาผ่านไปนานแล้วจึงจดบันทึก
•รูปลักษณ์ของหลักฐาน หากเป็นรายงานราชการจะกระชับ เขียนตามระเบียบ หากเป็นบันทึกส่วนตัว จะเขียนเชิงพรรณนา

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

            การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
            ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ซึ่งอาจตรงกัน หรืออาจขัดแย้งกันบ้าง
            ความคิดเห็น เป็นข้อมูลส่วนที่ผู้บันทึก หรือผู้ใช้หลักฐานคิดว่าน่าจะเป็นอย่างไร

การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง

            ความจริง คือ ข้อมูลหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เช่น ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 และ พ.ศ. 2310
            ข้อเท็จจริง คือ ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา

ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

            ตัวอย่าง ช่วงเวลาการครองราชสมบัติของพระเจ้าทรงธรรม
            หลักฐานของไทยที่เกี่ยวข้อง  เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงไว้ไม่ตรงกัน 
            ในการตรวจสอบเรื่องนี้ ถ้าหลักฐานของไทยขัดแย้งกัน ก็อาจหาหลักฐานต่างชาติมาช่วยตรวจสอบ  ที่สำคัญ คือ หลักฐานของพ่อค้าฮอลันดาที่เข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาจดบันทึกไว้
            ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ช่วงเวลาการครองราชสมบัติของพระเจ้าทรงธรรม คือ ระหว่าง พ.ศ. 2154-2173 รวมเวลา 17 ปี

ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์

เพื่ออธิบายเรื่องราวที่ปรากฏในหลักฐาน
เพื่อตีความ วิเคราะห์ความสำคัญของหลักฐาน
เพื่อวิพากษ์ หรือวิจารณ์หลักฐานว่ามีความเที่ยงตรง ไม่ลำเอียง
ช่วยอธิบายความถูกผิดของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐาน
เพื่ออธิบายข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานให้เข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่างการตีความข้อมูลจากหลักฐาน

        (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) “เสด็จทรงช้างต้นพญาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชา (ที่) ตำบลหนองสาหร่าย... แลได้ ชนช้างด้วยพระมหาอุปราชานั้น... ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้าง ตายในที่นั้น”

ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

        ข้อมูลนี้ตีความได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จทรงช้างต้น คือ พระยาไชยานุภาพ แล้วนำกองทัพไปต่อต้านกองทัพของพระมหาอุปราชาของพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนช้างหรือทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ทรงฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าวขาดบนคอช้างจนสิ้นพระชนม์

ความสำคัญของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล


ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล

เพื่อแยกข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงจากหลักฐานกับความคิดเห็นของบุคคล
เพื่อแยกข้อมูลที่ตรงกัน หรือต่างกัน
เพื่อแยกข้อมูลที่เป็นความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
ความสำคัญของการสังเคราะห์ข้อมูล

เพื่อจัดรวมข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน ทั้งที่เป็นข้อมูลสนับสนุนและขัดแย้ง
เพื่อจัดลำดับเหตุการณ์ ความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงของข้อมูล
เพื่อจัดรวมความคิดเห็นส่วนตัว ในการนำเสนอ


ตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐาน




        “กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนเดินทางเข้ามาค้าขายทั้งโดยทางบกและทางน้ำ มีชาติต่างๆ จากเอเชียและพวกพ่อค้า คริสเตียน...พระเจ้าแผ่นดินและพระอนุชาของพระองค์ทรงส่งเรือลำหนึ่งบรรทุกสินค้ามีค่าผ่านตะนาวศรีไปยังโจฬะมณฑลทุกปี ทั้งทรงส่งไปยังกวางตุ้ง กับทรงส่งเรือสำเภา 2 หรือ 3 ลำไปยังที่อื่นๆ ในประเทศจีน…”

ที่มา : รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต)

            จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จะทำให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ซึ่งวัน วลิตได้เขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2180 ตรงกับรัชกาลนี้) เห็นความคึกคักของตลาดค้าขายที่มีพ่อค้าต่างชาติหลายชาติเข้ามาค้าขาย เช่น เรือสำเภาจีน